เทศบาล
ตำบลชำฆ้อ

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

"โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด" เช็กคุณสมบัติ - วิธีลงทะเบียน ปฏิทินการจ่ายเงิน

e-Service

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

ความเป็นมาโครงการ

 โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นนโยบายสำคัญระดับชาติตามแผนบูรณาการ การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เป็นการสร้างระบบคุ้มครองทางสังคมโดยการจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนให้แก่ เด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนหรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน เป็นมาตรการให้บิดา มารดาหรือ ผู้ปกครองนำเด็กเข้าสู่ระบบบริการของรัฐ เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีพัฒนาการเหมาะสม ตามวัย รวมทั้งเป็นหลักประกันให้เด็กได้รับสิทธิด้านการอยู่รอดและการพัฒนาตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564)
– ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 กลุ่มเป้าหมายเด็กที่อยู่นอกระบบประกันสังคมในครัวเรือนยากจนหรือครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน (รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยไม่เกิน 36,000 บาท ต่อคน ต่อปี) เป็นเด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559 โดยอุดหนุนเงินรายละ 400 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี เริ่มจ่ายเงินอุดหนุนตั้งแต่ ปีงบประมาณ 2559
– คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 ให้ขยายเวลาการให้เงินอุดหนุน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี และเพิ่มวงเงินเป็น 600 บาท ต่อคน ต่อเดือน
– คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 ยกเลิกเงื่อนไขผู้มีสิทธิที่ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระบบประกันสังคม และเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 รวมทั้งให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงข้อมูลผู้มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการของรัฐ นํามาใช้เป็นเกณฑ์กําหนดคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการและปรับปรุง กระบวนการตรวจสอบและรับรองสิทธิ
– คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ขยายระยะเวลาให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี และขยายฐานรายได้ของกลุ่มเป้าหมายไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี

ขั้นตอนการขอใช้บริการ

ขั้นตอนที่ 2

เจ้าหน้าที่รับคำร้อง

ขั้นตอนที่ 3

เจ้าหน้าที่อนุมัติคำร้อง

ส่งคำร้องออนไลน์

ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุออนไลน์ 
ขอเปลี่ยนบัญชีธนาคารรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
แจ้งเสียชีวิตผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ