เทศบาล
ตำบลชำฆ้อ

อำนาจหน้าที่ของเทศบาล

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

อำนาจหน้าที่ของเทศบาล...

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้

เทศบาลคืออะไร

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลมีขอบเขตแค่ไหน มาทำความรู้จักกัน

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้

1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลต้องททำ ได้แก่        

  • รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน                 
  • ให้มีและบำรุงทางบกและทาง
  • รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล                   
  • ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  • ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  •  จัดการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา และการฝึกอบรม ให้แก่ ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็ก                   
  • ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  • บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  • หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ได้แก่

  • ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา                  
  • ให้มีโรงฆ่าสัตว์                  
  • ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม                  
  • ให้มีสุสานและฌาปณสถาน                  
  • บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร                  
  • ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้                  
  • ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างด้วยวิธีอื่น                  
  • ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ                  
  • เทศพาณิชย์

 

3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการ จัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้

  • การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง                  
  • การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ                  
  • การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ                           
  •  การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ                 
  • การสาธารณูปการ                  
  • การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ               
  • การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน                  
  • การส่งเสริมการท่องเที่ยว                  
  •  การจัดการศึกษา                  
  • การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส               
  • การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น  
  • การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย                         
  • การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ                  
  • การส่งเสริมกีฬา                  
  • การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน             
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น                  
  • การรักษาความสะอาดและการเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง                       
  • การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย                  
  • การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล                  
  • การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปณสถาน                  
  • การควบคุมการเลี้ยงสัตว์                  
  • การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์                
  • การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ         
  • การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม               
  • การผังเมือง                
  • การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร                
  • การดูแลรักษาที่สาธารณะ                  
  • การควบคุมอาคาร                  
  • การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย                  
  • การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                  
  • กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 

อำนาจหน้าที่ของเทศบาล

**** ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 กำหนดไว้แจ้งชัด ซึ่งอาจจำแนกที่มาของอำนาจหน้าที่ดังกล่าวได้คือ
1. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งเทศบาลกำหนด
***** สามารถแบ่งแยกประเภทอำนาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และอำนาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติ ทั้งยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในฐานะต่างๆ ดังนี้
    1.1 หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ มาตรา 50,53 และ 56
หน้าที่เทศบาล

บทที่ ๑
เทศบาลตำบล

มาตรา ๔๙* (ยกเลิกทั้งมาตรา)

มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบล มีหน้าที่ต้องทำให้เขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
( ๑) รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
( ๒) ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
( ๓) รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
( ๔) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
( ๕) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
( ๖) ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
( ๗) * ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
( ๘) **บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
( ๙) ** หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

มาตรา ๕๑*** ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
( ๑) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
( ๒) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
( ๓) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
( ๔) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
( ๕) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
( ๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
( ๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
( ๘) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
( ๙) เทศพาณิชย์

 

บทที่ ๒
เทศบาลเมือง

มาตรา ๕๒* (ยกเลิกทั้งมาตรา)

มาตรา ๕๓** ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
( ๑) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐
( ๒) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
( ๓) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
( ๔) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
( ๕) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
( ๖) ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
( ๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
( ๘) ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

มาตรา ๕๔* ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
( ๑) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
( ๒) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
( ๓) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
( ๔) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
( ๕) ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
( ๖) ให้มีการสาธารณูปการ
( ๗) จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
( ๘) จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
( ๙) ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
( ๑๐)ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
( ๑๑)ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
( ๑๒)เทศพาณิชย์

 

บทที่ ๓
เทศบาลนคร

มาตรา ๕๕* ( ยกเลิกทั้งมาตรา)

มาตรา ๕๖ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลนครมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
( ๑) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๓
( ๒) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
( ๓) กิจการอย่างอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
( ๔)* การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร โรงมหรสพ และสถานบริการอื่น
( ๕)* จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
( ๖)* จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ
( ๗)* การวาผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง
( ๘)* การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว
มาตรา ๕๗ เทศบาลนครอาจจัดทำกิจการอื่น ๆ ตามมาตรา ๕๔ ได้

 

บทที่ ๓ ทวิ*
การทำการนอกเขตเทศบาล

และการทำการร่วมกับบุคคลอื่น
มาตรา ๕๗ ทวิ* เทศบาลอาจทำกิจการนอกเขต เมื่อ
( ๑) การนั้นจำเป็นต้องทำและเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ภายในเขตของตน
( ๒) ได้รับความยินยอมจากสภาเทศบาล คณะกรรมการสุขาภิบาลสภาจังหวัด หรือสภาตำบลแห่งท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและ
( ๓) ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

มาตรา ๕๗ ตรี* เทศบาลอาจทำการร่วมกับบุคคลอื่นโดยก่อตั้งบริษัทจำกัด หรือถือหุ่นในบริษัทจำกัด เมื่อ
( ๑) บริษัทจำกัดนั้นมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค
( ๒) เทศบาลต้องถือหุ้นเป็นมูลค่าเกินกว่าร้อยละห้าสิบของทุนที่บริษทนั้นจดทะเบียนไว้ ในกรณีที่มีหลายเทศบาล องค์บริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลหรือสุขาภิบาล ถือหุ้นอยู่ในบริษัทเดียวกันให้นับหุ่นที่ถือนั้นรวมกัน และ
( ๓) ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ่นที่เทศบาลถืออยู่ในบริษัทจำกัด ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

***** ความใน (๑) และ (๒) ของวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับในกรณีที่บริษัทจำกัดที่เทศบาลร่วมก่อตั้งหรือถือหุ้นอยู่ด้วย

 

บทที่ ๔
สหการ


มาตรา ๕๘ ถ้ามีกิจการใดอันอยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปที่จะร่วมกันทำเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ก็ให้จัดตั้งเป็นองค์การขึ้นเรียกว่า สหการ มีสภาพเป็นทบวงการเมือง และมีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วยผู้แทนของเทศบาลที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
***** การจัดตั้งสหการจะทำได้ก็แต่โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งจะได้กำหนดชื่อ อำนาจหน้าที่ และระเบียบการดำเนินงานไว้
การยุบเลิกสหการให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาโดยกำหนดวิธีการจัดทรัพย์สินไว้ด้วย

มาตรา ๕๙ สหการอาจได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และอาจกู้เงินได้ภายใต้บังคับมาตรา ๖๖ (๕) หรือ (๖)

 

ส่วนที่ ๔
เทศบัญญัติ

มาตรา ๖๐* เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อลทกฎหมายในกรณีดังต่อไปนี้
( ๑) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
( ๒) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ
***** ในเทศบัญญัตินั้น จะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ

2. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆกำหนด
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆอีกเป็นจำนวนมาก เช่น
    – พระราชบัญญัติป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ. 2464
    – พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2534
    – พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535
    – พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พ.ศ. 2490
    – พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
    – พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495
    – พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535
    – พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
    – พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535
    – พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
    – พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. 2503
    – พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
    – พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510
    – พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518
    – พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522
    – พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523
    – พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2523
    – พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ. 2526
    – พระราชบัญญัติสุสานและณาปนสถาน พ.ศ. 2528
    – ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502
    – ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 ( กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือในแม่น้ำลำคลอง)
    – ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ( กฎหมายว่าด้วยทางหลวง)
    – ประมวลกฎหมายที่ดิน ( ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า
      ตามคำสั่ง กระทรวงมหาดไทยที่ 890/2498